วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 6 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์


โปรโตคอลสำหรับรับส่งอีเมล
SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)   เป็นโปรโตคอลแบบ TCP/IP ที่ใช้ในการรับส่ง email ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการรับส่ง mail ว่ามันสามารถทำได้แบบเป็นคิวเท่านั้น จึงทำให้เกิดโปรโตคอลที่จะมาแก้ไขในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ POP กับ IMAP แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่า SMTP จะมีข้อจำกัดในการรับ mail แต่สำหรับการส่ง mail หลาย ๆ โปรแกรมก็ยังคงนิยมใช้ SMTP ในการส่ง mail อยู่เช่นเดิม
POP (Post Office Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่ใช้รับ mail ซึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็น POP version 3 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า POP3 ซึ่งจะมีการทำงานแบบ Store-and-Forward ซึ่งไม่ควรนำไปสับสนกับ SMTP เพราะ POP จะใช้ในการรับ mail เท่านั้น ส่วน SMTP จะใช้ในการส่ง mail
การทำงานของPOP3 จะทำงานร่วมกับโปรโตคอลTCP โดยทั่วไปจะใช้พอร์ต 110 ในการติดต่อ ขั้นตอนการทำงานของPOP3 จะมี3สถานะคือ
1.สถานะขออนุมัติเมื่อเริ่มต้นติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์จะเป็นการเข้าสู่สถานะการขออนุมัติ โยไคลเอนต์จะต้องแจ้งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน(Password) เพื่อขออนุมัติจากเซิร์ฟเวอร์ก่อน โดยไคลเอนต์จะใช้คำสั่งUSER เพื่อระบุชื่อผู้ใช้ หรือคำสั่ง PASS เพื่อกำหนด Password แต่ในกรณีที่ชื่อและ Password ถูกเข้ารหัสไว้ และไม่ได้เป็นค่าASCII ทั่วไปไคลเอนต์จะใช้คำสั่ง APOP ทำงานแทนคำสั่ง USER และ PASS
2.สถานะรับส่งรายการ - หลังจากที่ได้รับอนุมัติจากเซิร์ฟเวอร์แล้ว ก็จเข้าสู่สถานะที่ใช้คำสั่งในการทำงานต่างๆ
3.สถานะปรับปรุงข้อมูล เมื่อ User Agent เลิกใช้งานด้วยคำสั่งQUIT ของPOP3 เซิร์ฟเวอร์ก็จะเข้าสู่สถานะปรับปรุงข้อมูล เพื่อลบอีเมล์ที่ดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้วออกไป จากนั้นก็จะเข้าสู่สถานะขออนุมัติใหม่โดยอัตโนมัติ เพื่อรอรับการทำงานครั้งต่อไป
IMAP (Internet Message Access Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับรับ mail จาก server ซึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ IMAP version 4 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า IMAP4 ซึ่งจะมีความสามารถในการเลือกเฉพาะ header กับ sender หรือสิ่งที่เราต้องการได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือก download เฉพาะ mail ที่เราต้องการได้ด้วย แต่ IMAP ก็ต้องอาศัยการติดต่อกับ server มากกว่า POP

อีเมล์ E Mail หรือ Electronics Mail แปลตรง ๆ ตัวก็คือ ไปรษณีย์อีเลคโทรนิคส์ นั่นเอง ดังนั้น ความหมายง่าย ๆ ของอีเมล์ ก็คือ เป็นเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันโดยที่จากเดิม เราอาจจะใช้วิธีการส่งข้อความ ไปหาผู้อื่นด้วยการเขียนเป็นจดหมาย และส่งผ่านทางไปรษณีย์ แต่ในโลกของอินเตอร์เน็ต จะมีบริการที่เรียกว่า อีเมล์ ซึ่งสามารถทำการส่งข้อความต่าง ๆ ไปยังผู้รับปลายทาง (ที่ใช้บริการอีเมล์) ได้ และในปัจจุบันนี้ ยังสามารถทำการแนบ ไฟล์เอกสาร ของคอมพิวเตอร์ หรือรูปภาพต่าง ๆ ไปอับอีเมล์ได้ด้วย จึงทำให้เพิ่มความ สะดวกสบายได้มากขึ้น
คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบการ รับ-ส่ง อีเมล์
- Inbox หมายถึงกล่องหรือที่สำหรับเก็บอีเมล์ ที่มีผู้ส่งเข้ามา                                                - Outbox หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่กำลังจะส่งออกไปหาผู้อื่น                                       - Sent Items หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่เราได้เคยส่งออกไปหาผู้อื่นแล้ว                           - Delete Items หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่ได้ทำการลบทิ้งจาก Inbox แต่ยังเก็บสำรองไว้อยู่  --- - Drafts หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ สำหรับใช้เก็บอีเมล์ต่าง ๆ ชั่วคราว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้          - Compose หรือ New Mail จะเป็นการส่งอีเมล์ใหม่ ไปหาผู้อื่น                                      - Forward จะเป็นการส่งต่ออีเมล์ ที่ได้รับมานั้นไปหาผู้อื่น                                               - Reply จะเป็นการตอบอีเมล์ ที่มีผู้ส่งมาถึงเรา                                                                                                        - Reply All จะเป็นการตอบอีเมล์ ที่มีผู้ส่งมาถึงเรา และส่งกลับไปให้ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในอีเมล์ฉบับนั้น     - Subject หมายถึงหัวข้อของอีเมล์ที่เราจะเขียนหรือส่งออกไป                                              - To หมายถึงชื่อหรืออีเมล์ ของผู้ที่เราต้องการส่งอีเมล์ไปหา                                                 - CC หมายถึงการส่ง copy อีเมล์นั้น ๆ ไปให้ผู้อื่นที่ต้องการด้วย                                         - BCC หมายถึงการส่ง copy อีเมล์นั้น ๆ ไปให้ผู้อื่นที่ต้องการ และไม่ให้ผู้รับคนอื่นมองเห็นว่า มีการส่งไปให้ในช่อง BCC ด้วย                                                                                                                    - Attach หมายถึง การแนบไฟล์เอกสาร หรือโปรแกรมต่าง ๆ ไปกับอีเมล์ฉบับนั้น                           - Address Book หมายถึงสมุดรายชื่อของอีเมล์ต่าง ๆ ที่เราสามารถเก็บไว้ เพื่อให้นำมาใช้งานได้ง่ายขึ้น



รูปแบบของ  E-mail address


*       E-mail address : ที่อยู่การส่ง E-mail                                                                

<user name> @ domain name        sakda@kku.ac.th                                                                                  ต้องไม่มี  ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เว้นวรรค                                                

  มีส่วนประกอบ 3 ส่วน

*   Username : ชื่อผู้ใช้
*   เครื่องหมาย : @  เรียกว่า assign  อ่านออกเสียงว่า “at”
*   domain name : ชื่อสถานีรับ-ส่ง E-mail

นักศึกษาทุกคนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มี e-mail address คือ                        <รหัสนักศึกษาไม่มีขีด>@kku.ac.th                                                                                     ได้รับพื้นที่ในการรับ-ส่ง E-mail ขนาด 20 MB


ประเภทของ e-mail

อี-เมล์ (E-mail) ย่อมาจาก Electronic mail (แปลว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (Terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (Network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (E-mail address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้ โดยปกติ จะไม่มีการพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ถือกันว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสานักงานอัตโนมัติ (Office automation) ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอันมาก
E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สาหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม Word จากนั้นก็คลิกคาสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง
ประเภทของ e-mail
e-mail มี  3  ประเภท  คือ
1. POP  (Post Office Protocol Version)
POP จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Offline Model กล่าวคือเวลาทำงาน E-mail Client จะเชื่อมต่อกับ Mail Server จากนั้นจะ Download และลบ E-mail ออกจาก Server หรือ Download เพียงอย่างเดียวแล้วทิ้ง E-mail ไว้บน Server ภายหลังจากที่ E-mail ถูก Download มาที่เครื่อง Client เรียบร้อยแล้ว Client จะตัดการเชื่อมต่อออกจาก Server หลังจากนั้น E-mail จะถูก Process ที่เครื่อง Client ทั้งหมด ข้อได้เปรียบของการทำงานแบบนี้ก็คือ Client แต่ละเครื่องใช้เวลาในการเชื่อมต่อกับเครื่อง Mail Server น้อยมากอีกทั้งยังต้องการเนื้อที่เก็บ E-mail บน Server น้อยด้วยเช่นกัน แต่ข้อเสียก็คือไม่สามารถอ่าน E-mail จาก Client เครื่องอื่นได้อีกหากว่าเรา Set ให้ลบ Mail บน Server หลังจาก Download เสร็จ หรือ ไม่สามารถบอกได้ว่า Mail ฉบับไหนเคยอ่านไปแล้วบ้าง หากเรา Set ค่าแบบ ให้ทิ้ง E-mail ไว้บน Server อีกประการหนึ่งคือเครื่อง Client จะต้องมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากเป็นผู้ Process E-mail ด้วยตนเอง
2. IMAP  (Internet Message Access Protocol Version)
IMAP จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Online Model ผสานกับ Disconnected Model กล่าวคือ การจัดการและการ Process E-mail ทั้งหมดจะถูกจัดการที่ Server เพียงอย่างเดียว Client มีหน้าที่เพียงแค่อ่าน E-mail หรือส่งคำสั่งไป Process E-mail บน Server เท่านั้น แบบนี้มีข้อดีก็คือท่านสามารถอ่าน E-mail จากที่ใดก็ได้ เนื่องจาก E-mail จะถูกเก็บอยู่ใน Server เสมอ และจะมีสถานะบอกด้วยว่า E-mail ฉบับใดมาใหม่ ฉบับใดมีการอ่านหรือตอบกลับไปแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ Server จะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง และในระหว่างการอ่านหรือ Process E-mail เครื่อง Client จะต้องเชื่อมต่อกับ Server ตลอดเวลา ดังนั้นจึงทำงานได้ช้ากว่าแบบ POP
3. WEB Based
Web Base Mail เช่น อีเมล์ของ hotmail.com, chaiyo.com ซึ่งหากต้องการใช้งานอีเมล์เหล่านี้ จะต้องใช้งานโดยผ่านทางเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Firefox ก็สามารถเข้าเช็คอีเมล์หรือเขียนอีเมล์ได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเสมอไป เพราะโปรแกรมอีเมล์ดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี Web-based Application ที่ใช้โปรแกรมเว็บบราวเซฮร์เป็นเครื่องมือในการเปิดโปรแกรมใช้งาน จึงทำให้โปรแกรมอีเมล์สามารถทำงานได้เหมือนกับการเข้าไปดูเว็บไซต์ทั่วไป
ขั้นตอนการขอใช้บริการ
1.   ทำการของบัญชีผู้ใช้งานที่สำหนักคอมพิวเตอร์(ระบบจะทำการสร้างบัญชีผู้ใช้งานจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ที่ ๆ ต้นชั่วโมง ดังนั้น ถ้าขอบัญชีตอน 11:05 จะสามารถใช้งานได้ในเวลาประมาณ 12:10 เป็นต้น)
2.  ทำการเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยใช้บัญชีผู้ใช้งานของสำนักคอมพิวเตอร์
1.   ทำการเปลี่ยนได้ที่ http://mail.buu.ac.th/ChangePasswd.aspx
2.  ทำการเปลี่ยนได้ที่เครื่องที่สำนักคอมพิวเตอร์ให้บริการโดยการกด Ctrl + Alt + Del แล้วเลือก Change Password
3.  เมื่อทำการเปลี่ยนรหัสผ่านแล้วจะสามารถใช้งานได้ที่ WindowsLive
o    โดยอีเมล์จะเป็น  รหัสนิสิต@live.buu.ac.th
o    รหัสผ่านจะเป็น   รหัสผ่านที่นิสิตกำหนดขึ้นมา
4.  สามารถดูเอกสารประกอบได้ ที่นี่
การเขียนและการส่งจดหมาย
การ รับ-ส่ง E-mail นั้น เราต้องทำการ Login เข้าไปในระบบก่อน โดยการเข้าไปยังเว็บเมล์ที่เราสมัครสมาชิกแล้วทำการใส่ User และ Pass ที่เราทำการสมัครไว้ เพื่อเข้าไปใช้งาน
เมื่อมีจดหมายเข้ามาก็จะปรากฏจดหมาใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เราเข้าไปเปิดอ่านดู และเราสามารถจัดเก็บจดหมายหรือทำการจัดระเบียบของจดหมายของเราได้ด้วย
ส่วนการส่งจดหมายนั้นทำได้โดยการเลือก New หรือส่วนเขียนจดหมาย แล้วใส่รายละเอียดต่างลงในแต่ละส่วน ซึ่งหลักๆ มีดังนี้
- To:  ใส่ Email address ของผู้รับ
- From:ใส่ Email address ของผู้ส่ง
- Subject: ชื่อเรื่องจดหมาย ไม่จำเป็นต้องใส่ แต่แนะนำว่าควรใส่เพื่อให้สื่อให้รู้ว่าเนื้อหาจดหมายจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
- CC:ย่อมาจาก Carbon copy ใช้ในกรณีที่ต้องการสำเนาจดหมายให้บุคคลอื่น ๆ ทราบเรื่อง
- BCc:ย่อมาจาก Blind carbon copy เป็นการสำเนาจดหมายเหมือน CC แต่ผู้รับในช่อง Toจะไม่เห็นว่าเราสำเนาจดให้ใครบ้าง
- Attachments:ใส่ชื่อ File ที่ต้องการส่งแนบไปพร้อมข้อความ
- Body:พิมพ์ข้อความจดหมาย
- Signature:ข้อความสั้น ๆ จำนวน 3-4 บรรทัด เพื่อระบุข้อมูลส่วนตัวของผู้ส่ง
ความรู้ในเรื่องของ E-mail
Email ย่อมาจาก Electronic Mail  คือการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประวัติการเริ่มต้นใช้งานตั้งแต่ประมาณปี 1973 ในโครงการ  ARPANET  (Advanced Research Projects Agency Network) ประเทศสหรัฐอเมริกา  เป็นโครงการก่อตั้งเพื่อการศูนย์บัญชาการสื่อสารข้อมูลในกิจการทหารยามสงคราม
ปัจจุบันนี้ Email ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารอย่างแพร่หลายทั่วโลก  การใช้ Email ดังกล่าว มีทั้งผู้ใช้จากองค์กรต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย,  บริษัท และฟรีอีเมล์ เช่น Yahoo, Hotmail เป็นต้น รูปแบบการให้บริการ  Email ทั้งในส่วนองค์กรและฟรีอีเมล์ส่วนใหญ่จะทำงานในลักษณะ Web based คือการรับส่ง Email ผ่านทาง Web browser เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Navigator แต่ทั้งนี้บริการ Email บางแห่งอาจสามารถใช้งานผ่าน POP3 หรือ IMAP  ได้ซึ่งจะอธิบายหลักการต่อไป
ความรู้ทั่วไปเกียวกับ E-mail
การทำงานของระบบ Email องค์ประกอบใหญ่อย่างเห็นได้ชัด จะประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้
1. Mail Server เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมทำหน้าที่ให้บริการรับ/ส่ง Email เปรียบได้กับที่ทำการไปรษณีย์ โปรแกรมที่นิยมทำหน้าที่เป็น Mail Server ในปัจจุบันได้แก่ Sendmail,  Qmail,
2. Mail Client เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมทำหน้าเขียน/อ่าน Email เปรียบได้กับกระดาษและปากกา ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นถึงรูปแบบ Email ที่บริการมี 3 รูปแบบคือ  โปรแกรม PINE,  โปรแกรม Email Client และ http://webmail.kmitl.ac.th ทั้ง 3 อย่างนี้ล้วนทำหน้าที่เป็น Mail Client ทั้งสิ้น  มีผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งยังคงเข้าใจผิดคิดว่า หลังจากการพิมพ์ข้อมูล Email แล้ว เมื่อกดปุ่ม Send โปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่จะเป็นผู้ส่งไปยังผู้รับเองโดยตรง  ซึ่งความเป็นจริง  เมื่อกดปุ่ม Send แล้ว Mail Client จะส่งต่อให้ Mail Server เพื่อทำหน้าที่ส่งต่อไปยังMail Server ของผู้รับปลายทาง
องค์ประกอบภายในกล่องจดหมาย
เมนูหลังประกอบด้วย4เมนู ดังนี้
1.Inbox กล่องจดหมาย
2.Sent กล่องจดหมายออก
3.Draft กล่องเก็บสำเนาจดหมาย
4.Trash ถังขยะ
การอ่านจดหมาย
เมนู INBOX   หน้าจอแรกที่ปรากฏคือ INBOX เป็นส่วนที่แสดงรายการจดหมายที่ได้รับ หากหน้าจอของท่านไม่แสดง INBOX ท่านสามารถเปิดหน้าต่างของ INBOX โดยคลิกที่ มุมบนซ้ายของหน้าต่าง
2.1 รายละเอียดต่าง ๆ ของรายการจดหมายใน INBOX มีดังนี้
สัญลักษณ์ใน inbox
Date แสดงวันที่ที่ส่งจดหมาย
From แสดงชื่อผู้ส่งจดหมาย
Subject แสดงหัวเรื่องของจดหมาย
Size แสดงขนาดของจดหมาย
2.2 หากต้องการอ่านจดหมายฉบับถัดไปให้คลิกเครื่องหมาย >
2.3 หากต้องการอ่านจดหมายฉบับก่อนหน้าให้คลิกเครื่องหมาย http://www.it.chula.ac.th/sites/default/files/image/manual2009/pg_0009_clip_image008.jpg
2.4 กรณีจดหมายนั้นมีไฟล์แนบมากับจดหมายด้วย สามารถแยกไฟล์ออกจากจดหมายที่ส่งมาได้ดังนี้
2.5 จดหมายที่มีไฟล์ส่งมาด้วยจะปรากฏสัญลักษณ์ รูป disket พร้อมชื่อไฟล์ที่ส่งมา 
การตอบจดหมายกลับ
ขั้นตอน
1.เมื่ออ่านข้อความจดหมายจบแล้ว และต้องการตอบจดหมายกลับให้คลิกที่ปุ่ม Reply
2.สังเกตที่ช่อง To จะมี e-Mail Address ของผู้ที่ส่งจดหมายมาหาท่านปรากฏอยู่ ซึ่งท่านไม่ต้องพิมพ์ e-Mail Address ลงในช่องนี้ จากนั้นให้พิมพ์ข้อความตอบจดหมายเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Send
3.เมื่อส่งจดหมายเสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้กรอบยืนยันการส่งจดหมาย ดังภาพ 
การส่งต่อจดหมาย
ท่านสามารถส่งต่อจดหมายที่ท่านได้รับไปให้บุคคลอื่นได้ โดยสามารถทำได้ 2 แบบ ได้แก่
-ส่งต่อจดหมายแบบ Redirect หมายถึง การส่งต่อจดหมายโดยคงชื่อผู้ส่งเดิมไว้                       -ส่งต่อจดหมายแบบ Forward หมาย ถึง การส่งต่อจดหมายโดยใช้ชื่อผู้ส่งต่อ เนื้อหาของจดหมายที่ส่งต่อสามารถถูกดัดแปลง แก้ไข เพิ่มเติม หรือถูกลบออกโดยผู้ส่งต่อได้                   5.1 ส่งต่อจดหมายแบบ Redirect ( จดหมายที่คงชื่อผู้ส่งจดหมายคนเดิม)                     5.1.1 คลิกที่ Redirect 
 
5.1.2 พิมพ์ที่อยู่อีเมลของผู้รับ
5.1.3 คลิกที่ Send Message เพื่อส่งจดหมาย
5.2 การส่งจดหมายแบบ Forward (ชื่อผู้ส่งต่อจดหมายเป็นชื่อผู้ส่งจดหมาย)
5.2.1 คลิกที่ Forward
5.2.2 พิมพ์ชื่อที่อยู่อีเมลของผู้รับ ผู้ส่งสามารถเพิ่มเติมข้อความหรือลบข้อความตามที่ต้องการก่อนส่งต่อจดหมายได้
การลบจดหมาย
ขั้นตอน
1. คลิกที่ Inbox เมื่อคลิกแล้วจะได้กรอบ Inbox 2. จากนั้นคลิกเครื่องหมายถูกที่กรอบสี่เหลี่ยม ดังภาพ แล้วคลิกปุ่ม Delete ตามลำดับ
3.จดหมายก็จะถูกลบออกจากกล่อง Inbox จดหมายที่ถูกลบออกไปจะถูกนำไปเก็บที่ Trash Can และจะถูกลบโดยอัตโนมัติต่อไป นั้นหมายความว่าหากท่านลบจดหมายผิด ท่านยังสามารถกู้จดหมาย จากกล่อง Trash Can นี้ได้ โดยการ คลิกที่ Trash Can แล้วคลิกเครื่องหมายถูกในกรอบสี่เหลี่ยมหน้าจดหมายที่ต้องการกู้ จากนั้นมาคลิกที่เมนู Recover to Folder แล้วเลือกกล่องจดหมายที่ต้องการกู้ไปเก็บไว้ 
คุณสามารถกู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบในแผงควบคุม Exchange สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ การกู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้ Windows PowerShell หากคุณต้องการ ตัวเลือกของคุณมีดังนี้
  • สำหรับ Microsoft Live@edu
*       การกู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบ รวมถึง Windows Live ID และรหัสผ่านเดิมใน Live@edu   ตัวเลือกนี้สามารถใช้งานได้ถ้าคุณเก็บ Windows Live ID ไว้เมื่อคุณลบกล่องจดหมาย
*       การกู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบ รวมถึง Windows Live ID เดิมที่มีรหัสผ่านใหม่ใน Live@edu   ตัวเลือกนี้สามารถใช้งานได้ถ้าคุณไม่ได้เก็บ Windows Live ID ไว้เมื่อคุณลบกล่องจดหมาย
*       การกู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบ และสร้าง Windows Live ID ใหม่ใน Live@edu   ตัวเลือกนี้จะสามารถใช้งานได้เสมอเมื่อคุณกู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบ อย่างไรก็ตาม Windows Live ID ที่คุณระบุต้องแตกต่างจาก Windows Live ID เดิมที่เคยเชื่อมโยงกับกล่องจดหมายที่ถูกลบ
*       การกู้คืนกล่องจดหมายภายนอกที่ถูกลบใน Live@edu   โดเมนภายนอก จะใช้ข้อมูลประจำตัวในสถานที่เพื่อเข้าถึงกล่องจดหมายในองค์กร Cloud-Based ในโดเมนภายนอก คุณสามารถสร้างและลบกล่องจดหมายใน Windows PowerShell เท่านั้น ถ้าคุณทราบพารามิเตอร์ WindowsLiveID และ FederatedIdentity ที่ใช้ในการสร้างกล่องจดหมาย คุณจะสามารถกู้คืนกล่องจดหมายที่ลบได้
  • สำหรับ Microsoft Office 365 for enterprises
*       การกู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบและสร้าง Microsoft Online Services ID ใหม่ใน Office 365    Microsoft Online Services ID ที่คุณระบุต้องแตกต่างจาก Microsoft Online Services ID เดิมที่เคยเชื่อมโยงกับกล่องจดหมายที่ถูกลบ

ก่อนที่จะเริ่มต้น

  • เมื่อต้องการเรียนรู้วิธีติดตั้งและกำหนดค่า Windows PowerShell และเชื่อมต่อกับบริการ โปรดดูที่ การใช้ Windows PowerShell
  • คุณสามารถใช้ Get-RemovedMailbox cmdlet เพื่อดูกล่องจดหมายที่สามารถกู้คืนได้ในองค์กรของคุณ ถ้ากล่องจดหมายที่ถูกลบไม่ปรากฏในรายการ กล่องจดหมายนั้นจะไม่สามารถกู้คืนได้
  • เมื่อกล่องจดหมายถูกลบ คุณสมบัติกล่องจดหมายต่อไปนี้จะไม่ได้รับการแก้ไข เพื่อให้คุณสามารถใช้คุณสมบัติเหล่านี้ในการระบุกล่องจดหมายที่ถูกลบ
*       Name   โปรดสังเกตว่า Name และ DisplayName คือคุณสมบัติกล่องจดหมายที่แตกต่างกันซึ่งอาจมีค่าเดียวกันหรือค่าอาจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
*       WindowsLiveID สำหรับองค์กร Live@edu
*       MicrosoftOnlineServicesID สำหรับองค์กร Microsoft Office 365
*       SAMAccountName
*       Guid
  • ถ้า Get-RemovedMailbox แสดงกล่องจดหมายที่ถูกลบมากกว่าหนึ่งกล่องสำหรับผู้ใช้ ให้ระบุกล่องจดหมายที่ถูกลบที่ถูกต้องในผลลัพธ์ และใช้ค่า SAMAccountName หรือ GUID ของกล่องจดหมายที่ถูกลบโดยใช้พารามิเตอร์ RemovedMailbox
 
                       แบบทดสอบ
1.กล่องหรือที่สำหรับเก็บอีเมล์ ที่มีผู้ส่งเข้ามา คือ
ก. Inbox        ข. Outbox
ค. Sent Items ง. Delete Items
2. กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่กำลังจะส่งออกไปหาผู้อื่น
ก. Inbox        ข. Outbox
ค. Sent Items ง. Delete Items
3.กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่ได้ทำการลบทิ้งจาก Inbox แต่ยังเก็บสำรองไว้อยู่
ก. Inbox         ข. Outbox
ค. Sent Items ง. Delete Items
4. กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่เราได้เคยส่งออกไปหาผู้อื่นแล้ว
ก. Inbox         ข. Outbox
ค. Sent Items ง. Delete Items
5. Delete Items หมายถึง
ก.กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่เราได้เคยส่งออกไปหาผู้อื่นแล้ว
ข.กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่กำลังจะส่งออกไปหาผู้อื่น
ค.กล่องหรือที่สำหรับเก็บอีเมล์ ที่มีผู้ส่งเข้ามา
ง.กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่ได้ทำการลบทิ้งจาก Inbox แต่ยังเก็บสำรองไว้อยู่
6. Outbox หมายถึง
ก.กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่เราได้เคยส่งออกไปหาผู้อื่นแล้ว
ข.กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่กำลังจะส่งออกไปหาผู้อื่น
ค.กล่องหรือที่สำหรับเก็บอีเมล์ ที่มีผู้ส่งเข้ามา
ง.กล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่ได้ทำการลบทิ้งจาก Inbox แต่ยังเก็บสำรองไว้อยู่
7.หมายถึง การแนบไฟล์เอกสาร หรือโปรแกรมต่าง ๆ ไปกับอีเมล์ฉบับนั้น
ก. Inbox    ข. Outbox
ค. Attach   ง. Delete Items
8. e-mail มี กี่ ประเภท
ก.1    ข.2
ค.3    ง.4
9.ทำการเปลี่ยนได้ที่เครื่องที่สำนักคอมพิวเตอร์ให้บริการโดยการกด
ก. Ctrl + Del
ข. Ctrl + Alt + Del
ค. Ctrl + Alt
ง. Ctrl + b
10.กล่องจดหมาย คือ
ก.Inbox
ข.Sent
ค.Draft
ง.Trash
เฉลย
1.ก       2.ข       3.ง       4.ค       5.ง       6.ข       7.ค       8.ค       9.ค       10.ก





 







1 ความคิดเห็น: